send link to app

HWNetwork


4.0 ( 4880 ratings )
소셜 네트워킹 라이프 스타일
개발자: Tosaporn Saiyam
비어 있는

เครือข่ายเพื่อเสริมกำลังด้านการจัดการปัญหาขยะอันตรายเพื่อชุมชนเขตภาคตะวันออก

จากปัญหาการลักลอบทิ้งขยะอันตรายและกากอุตสาหกรรมซึ่งเป็นข่าวออกมาอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ ได้พบการลักลอบทิ้งสารอันตรายมากกว่า 40 จุด (ข้อมูล ต.ค. 2557) และคาดว่ายังมีอีกหลายพื้นที่ๆ ยังไม่ได้มีการรายงาน ขยะอันตรายเหล่านี้ส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลทั้งทางด้านทรัพยากรบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และการเสียสมดุลของธรรมชาติ ซึ่งสาเหตุหลักของการลักลอบทิ้งขยะอันตรายมาจากปัญหาการขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการกำจัดของเสียอันตรายและกากอุตสาหกรรม

HWNetwork (Hazardous Waste Network) จัดทำขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกรมควบคุมมลพิษและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการลักลอบทิ้งขยะอันตรายที่นับวันจะขยายพื้นที่และทวีความรุนแรงจึงให้ความสำคัญในการสร้างระบบที่ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชน ให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสามารถประสานความร่วมมือกับชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายเพื่อเสริมกำลังการเฝ้าระวังปัญหาการลักลอบทิ้งขยะอันตราย โดยอาศัยการช่วยสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังการก่อมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม รวมถึงร่วมกันแก้ไขและลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมผ่านการใช้เทคโนโลยีที่สะดวก รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์

วัตถุประสงค์
1. สร้างระบบเครือข่ายที่สามารถดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเฝ้าระวังปัญหามลพิษจากการลักลอบทิ้งขยะอันตรายในพื้นที่ จ. ชลบุรี
2. สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ผ่านเทคโนโลยีการจัดการความรู้ต่อชุมชน
3. สร้างฐานข้อมูลด้านขยะอันตราย เพื่อการจัดการปัญหามลพิษอย่างทันต่อสถานการณ์ สามารถต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม


เพื่อรองรับการเฝ้าระวังปัญหาการลักลอบทิ้งขยะอันตราย ใน 7 จังหวัดภาคตะวันออก อันได้แก่ จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว โดยมีการพัฒนา ทดสอบ และปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่าย ให้สามารถรองรับภาพและข้อมูลการร้องเรียนของผู้ใช้งาน และส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งมีการสร้างระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ด้านการจัดการขยะอันตรายในรูปแบบออนไลน์ เป็นฐานข้อมูลความรู้ให้แก่ผู้ใช้งาน เช่น ลักษณะของขยะอันตราย โรคที่อาจเกิดขึ้น การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับสารพิษจากของเสียอันตรายเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น